วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     เด็กจะแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ได้ ครูต้อง
1.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
2.สื่อในการเรียนการสอนต้องหลากหลาย และน่าสนใจ
3.กระตุ้นเด็กด้วยคำถาม
4.ผลงานของเด็กทุกคนครูควรให้เด็กได้นำเสนอครบทุกคน

     จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 10 คน แล้ววาดรูปเรขาคณิต จากนั้นให้แต่ละคนเลือกรูปเรขาคณิตนั้น แล้ววาดออกมาเป็นภาพ

ตัวอย่างสื่อความคิดสร้างสรรค์
*สื่อนี้สอดแทรกเนื้อหา รูปทรงเรขาคณิต คำศัพท์ต่างๆ*













     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  การจะสร้างสื่อให้เด็กสักชิ้นหนึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และคำนึงถึงประโยชน์อันสูงสุดที่เด็กจะได้รับ

    ประเมินตนเอง
   ชอบกิจกรรมนี้ เพราะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง อีกทั้งยังได้วาดรูประบายสี ซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบ

    ประเมินเพื่อน
   เพื่อนแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการวาดภาพจากเรขาคณิตได้อย่างหลากหลายและสวยงาม

     ประเมินผู้สอน
   อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดีเยี่ยม ทำให้นักศึกษาได้ลงมือประดิษฐ์จริงและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 10 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย
1.คิดริเริ่ม
2.คิดคล่องแคล่ว
3.คิดยืดหยุ่น
4.ละเอียดลออ
5.คิดสร้างสรรค์

     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.กำหนดเรื่อง โดยเรื่องที่เลือกมานั้น ต้องเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันและมีผลกระทบต่อเด็ก
2.นำเรื่องที่ได้มาแตกหัวข้อ ซึ่งต้องมีหัวข้อดังนี้
   - ชื่อเรียก
   - ลักษณะ
   - การดำเนินชีวิต
   - ประโยชน์
   - ข้อควรระวัง
3.ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม โดยเด็กต้องได้รับประสบการณ์ครบทั้ง 4 ด้าน 

ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
หน่วยแมลง

*จัดเป็น 4 ฐาน*

ฐานที่ 1 เป่าสี




ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุที่กำหนดให้


ฐานที่ 3 พิมพ์มือ




ฐานที่ 4 ทำของเล่นแมลงไต่



     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ควรให้เด็กได้ใช้ความคิดและจินตนาการด้วยตนเอง แต่กิจกรรมที่เราจัดขึ้น ควรสอดแทรกบูรณาการวิชาต่างๆเข้าไว้ด้วย

     ประเมินตนเอง
   ในวันที่ทำกิจกรรม ทำกิจกรรมครบทุกฐาน

    ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และให้ความร่วมมือทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้

     ประเมินผู้สอน
   อาจารย์ตั้งใจสอน มีการเตรียมการเรียนการสอนมาอย่างดี เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้อย่างเต็มที่





วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 3 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นการนำเสนอการเรียนการสอนแบบ STEAM โดยยกตัวอย่างมาทำกับเพื่อนในห้อง หน่วยละ 1 กิจกรรม

หน่วยปลา
กิจกรรม สร้างบ่อปลาจากดินน้ำมัน
ได้ Engineering, Art, Mathematic




หน่วย ยานพาหนะ
กิจกรรมสร้างถนนจากดินน้ำมัน
ได้ Engineering, Art, Mathematic


หน่วย ข้าว (1)
กิจกรรม หุ่นไล่กา
ได้ Engineering, Art



หน่วยข้าว (2)
กิจกรรม วาดรูประบายสีท้องนา
ได้ Art




หน่วย ไข่
กิจกรรม ระบายสี Anotomy ไข่
ได้ Science, Art, Math



หน่วย บ้าน
กิจกรรม วาดรูประบายสีบ้าน
ได้ Engineering, Art, Math



     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   ได้เห็น และได้ทำกิจกรรมการของหน่วยต่างๆ ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ STEAM โดยสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

     ประเมินตนเอง
   ทำกิจกรรมที่เพื่อนเตรียมมาอย่างเต็มที่ และในกลุ่มของตนเอง ก็เตรียมอุปกรณ์มาทำกิจกรรม

     ประเมินเพื่อน
  กิจกรรมที่เพื่อนเตรียมมา เป็นกิจกรรมที่สนุกและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์

     ประเมินผู้สอน
  อาจารย์คอยชี้แนะ และบอกขั้นตอนการสอนอย่างเป็นกันเอง ทำให้นักศึกษารู้สึกเป็นกันเอง และไม่เกร็งเท่าไหร่ เมื่อต้องออกมาสอนหน้าชั้นเรียน








บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 26 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 19 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ STEM/STEAM หน่วยยานพาหนะ




     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   การคิดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรคิดให้สามารถบูรณาการกับ STEM/STEAM เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM/STEAM สามารถนำมาใช้ได้กับทุกๆหน่วยที่จะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้

    ประเมินตนเอง
     ช่วยเพื่อนๆในกลุ่มคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการสอนแบบ STEAM

    ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆทุกคนในกลุ่ม มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และหาจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละกิจกรรม และดัดแปลงให้กิจกรรมนั้นสมบูรณ์มากที่สุด

     ประเมินผู้สอน
   อาจารย์มอบหมายงานได้สอดคล้องกับสิ่งที่เรียน และทำให้นักศึกษานำความรู้นี้ไปใช้ได้จริงในอนาคต