วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30  น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ เป็นการเรียน "การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมเคลือนไหวและจังหวะ"

การเคลื่อนไหว มี 2 รูปแบบ คือ
1.เคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น กระโดด ยกแขนขึ้น-ลง 
2.เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น เดิน คลาน วิ่ง

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีดังนี้
1.เคลื่อนไหวประกอบเพลง บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้แสดงออกโดยการเต้น
2.เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้แสดงออกตามเรื่องราว
3.เคลื่อนไหวตามคำสั่ง บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้ใช้ความคิดในการเปลี่ยนทิศทาง
4.เคลื่อนไหวแบบผู้นำ บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้คิดท่าทางที่แสดงออก
5.เคลื่อนไหวตามข้อตกลง บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดท่าทางที่แสดงออก
6.เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องกับ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เคลื่อนไหวตามคำสั่ง และเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

ตัวอย่างการเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ

เคลื่อนไหวพื้นฐาน
   เริ่มโดยครูกำหนดสัญญาณ - ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆเดิน 1 ก้าว
                                               - ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆเดิน 2 ก้าว
                                               - ถ้าครูเคาะรัวๆเร็วๆ ให้เด็กๆเดินไปรอบๆห้อง
                                               - ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กหยุดอยู่กับที่ในท่านั้น

เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
   ถ้าครูพูดว่า ท้องฟ้า ให้เด็กๆทำท่าบินไปที่มุมท้องฟ้า
   ถ้าครูพูดว่า ป่าไม้ ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
   ถ้าครูพูดว่า ทะเล ให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
   ถ้าครูพูดว่า รู ให้เด็กๆทำท่างูไปที่มุมรู

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
   บีบ นวด ด้วยตนเอง




ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบต่างๆ




การนำไปประยุกต์ใช้
     ความคิดสร้างสรรค์นอกจากจะบูรณาการกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แล้วยังสามารถบูรณาการกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง
     นอกจากจะแสดงเป็นเด็กของกลุ่มตัวเองแล้ว ยังให้ความร่วมมือเป็นเด็กให้กับกลุ่มอื่นด้วย

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนทุกคนมีความสามรถในการสอน ตรงไหนที่อาจารย์ชี้แนะ ก็พร้อมน้อมรับ

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี ใส่ใจการสอนของนักศึกษาทุกรายละเอียด เพื่อให้นักศึกษานำไปสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ




วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     นำเสนอสื่อที่ผลิตจากสิ่งเหลือใช้














การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     เห็นตัวอย่างสื่อที่ประดิษฐ์จากสิ่งเหลือใช้ และสามารถประดิษฐ์สื่อจากสิ่งเหลือใช้ได้จริง

ประเมินตนเอง
     นำเสนอผ่าน และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของชิ้นงานตนเองได้

ประเมินเพื่อน
     สื่อที่เพื่อนประดิษฐ์ขึ้นมา แตกต่างกันออกไป และมีประโยชน์หลากหลาย

ประเมินผู้สอน
      อาจารย์แนะนำข้อบกพร่องของชิ้นงาน ของแต่ละคนอย่างเป็นกันเอง ทำให้นักศึกษารู้สึกไม่ซีเรียสและยอมรับข้อบกพร่องนั้นไปแก้ไข

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 31 ตุลมคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

     การจัดกิจกรรมบูรณาการ

เป้าหมายการจัดกิจกรรมบูรณาการ
1.เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
2.เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
3.เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสสติปัญญา

ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมบูรณาการ
1.เพื่อตอบสนองในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านคณิตศาสตร์ วทิยศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างสื่อประดิษฐ์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
"หมูตุ้ยเก็บหนังสือ"

อุปกรณ์
1.ขวดน้ำขนาด 5 ลิตร 1 ขวด
2.ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตร 2 ขวด
3.ฝาขวดน้ำ 4 ฝา
4.ตาตุ๊กตา 1 คู่
5.กรรไกร
6.กระดาษสี
7.กาว


วิธีทำ
1.ตัดขวดน้ำขนาด 5 ลิตร ในแนวนอน ตัดเป็นช่อง 3 ช่อง ช่องละประมาณ 2 นิ้ว  ไว้สำหรับเก็บหนังสือ โดยในส่วนนี้จะทำเป็นตัวหมู
2.ตัดก้นขวดน้ำ 1.5 ลิตร ทั้งสองขวด เพื่อนำมาทำเป็นหูหมู
3.ตกแต่งให้สวยงามโดยการติดกระดาษสีให้ทั่วตัวหมู และหูหมู
4.ใช้กาวติดหูหมูที่บริเวณหัวหมู (สามารถกะได้เองตามจินตนาการ)
5.ใช้กาวติดตาตุ๊กตาที่บริเวณหัวหมู (สามารถกะได้เองตามจินตนาการ)
6.ใช้กาวติดฝาน้ำทั้ง 4 ฝา ใติดที่บริเวณท้องหมู เพื่อทำเป็นขาหมู (สามารถกะเองได้ตามจินตนาการ)




สำเร็จแล้วค่ะ "หมูตุ้ยเก็บหนังสือ"



การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำสิ่งของเหลือใช้ที่มีอยู่มาใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตเป็นสื่อที่ไว้ใช้ในมุมต่างๆได้

ประเมินตนเอง
     เมื่อทำเสร็จแล้วมีการปรับปรุงแก้ไขจุดด้อยของงาน ทำให้งานมีความแข็งแรงขึ้น

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆเสนอชื่อผลงานที่มีแสดงความคิดสร้างสรรค์ และสามารถใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไป

ประเมินเพื่อน
    งานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำ สอดคล้องกับรายวิชา สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 24 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดชดเชยวันปิยะมหาราช