วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรก อาจารย์ได้แจกใบปั้มครั้งที่มาเรียน และใบเนื้อเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ
     หลังจากแจกเนื้อเพลงแล้ว อาจารย์ก็สอนร้องเพลงที่แจกมา ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน "การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย"
     
     ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
Jellen : ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
De Bong : ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
อุษณีย์ โพธิสุข : กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อนสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัฐหาที่มีอยู่ให้ดีขั้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
     คุณค่าของความคิดสร้างรรค์
- คุณค่าต่อสังคม
- คุณค่าต่อตนเอง
- ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
- ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
- มีความภูมิใจ มั่นใจในตนเอง
- นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
- ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง
- ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
- สร้างนิสัยการทำงานที่ดี
- พัฒนากล้ามเนื้อ
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ

     องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ มี 4 ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว
  - ด้านถ้อยคำ
  - ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
  - ด้านการแสดงออก
  - ด้านการคิด
2.ความคิดริเริ่ม
  - ความคิดแปลกใหม่และแตกต่าง
3.ความคิดยืดหยุ่น
  - ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที
  - ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง
4.ความคิดละเอียดลออ
  - คิดเกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
  - ทำให้ความคิดริเริ่มสมบูรณ์

     พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance แบ่งเป็น 3 ระยะ
1.ระยะแรกเกิด - 2 ขวบ มีจินตนาการ สิ่งแวดล้อมรอบตัว
2.ระยะ 2 - 4 ขวบ ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการในการเล่น
3.ระยะ 4 - 6 ขวบ สนุกกับการวางแผน การเล่น ชอบเล่นสมมติ

     ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ มี 5 ขั้น
1.แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
2.งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
3.ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
4.ปรับปรุงขั้นที่ 3
5.คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด

     ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
- ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
- อำนวยประโยชน์สุข
- เข้าใจและแก้ปัญหาได้ดี
- ช่วยให้ประสบความสำเร็จ
- ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

ทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์

ทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Gillford
     อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 : ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื้อในการคิด
มิติที่ 2 : กระบวนการทำงานของสมอง
มิติที่ 3 : การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า

ทฤษฎี Constructivism
- เด็กเรียนรู้เอง
- เด็กคิดเอง
- ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ Torrance
     ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการขิงความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
ขั้นที่ 1 : การพบความจริง
ขั้นที่ 2 : การค้นพบปัญหา
ขั้นที่ 3 : การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 : การค้นพบคำตอบ
ขั้นที่ 5 : ยอมรับผล
     บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- เด็กรู้สึกปลอดภัย
- ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
- ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
- ขจัดอุปสรรค
- ไม่มีการแข่งขัน
- ให้ความสนใจเด็ก
     กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3 ลักษณะ
1.ความไม่สมบูรณ์ ความเปิดกว้าง
2.การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.การใช้คำถามของเด็ก
     แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- ส่งเสริมให้เด็กถาม
- เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
- ยอมรับคำถามของเด็ก
- ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
- แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
- ค่อยเป็นค่อยไป
- ยกย่องชมเชย
- ไม่มีการวัดผล
     การตั้งคำถาม 5W1H
Who : ใคร
What : อะไร
Where : ที่ไหน
When : เมื่อไหร่
Why : ทำไม
How : อย่างไร

     เมื่อเรียนเนื้อหาแล้ว จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมคือ ให้จับคู่สองคน จากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลง แล้วให้วาดภาพลากเส้นไปเรื่อยๆ โดยห้ามยกมือขึ้นมา เมื่อเพลงจบให้ระบายสีว่าในเส้นที่ลากนั้น เราสามารถจินตนาการเป็นภาพอะไรได้บ้าง

จับคู่ทำกิจกรรม


เส้นที่ลากได้จากการฟังเพลงไปเรื่อยๆ


ภาพที่จินตนาการได้ จากเส้น
ภาพผลงานของเพื่อนๆในห้องค่ะ
     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำกิจกรรมไปใช้ได้อนาคต
- รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เนื่องจากในภาพมันเป็นเส้นอะไรไม่รู้ แต่เมื่อเพื่อนมองออกมาว่าเป็นภาพนี้ เราก็ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
- ได้ใช้จินตนาการ

     ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเนื้อหาที่ครูสอน จดบันทึกเพิ่มเติม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

     ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในกิจกรรมของอาจารย์

     ประเมินผู้สอน
อาจารย์มีกิจกรรมมาดึงดูดให้นักศึกษาสนใจ และในกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนก็ยังสอดแทรกเนื้อหาสาระลงไป อีกทั้งบรรยากาศในการเรียนก็ไม่มีความตึงเครียด ทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนมากค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น