วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559
เวลา 09.00 - 12.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน อาจารย์จึงเรียกมาตรวจใบการมาเรียน และนับดาวเด็กดี เพื่อประกาศ "รางวัลเด็กดี" และแจกสีเมจิเพื่อใช้ในการเรียนเทอมที่ 2





การนำไปประยุกต์ใช้
     ควรมาเรียนให้ตรงเวลา และถ้าหากไม่มีธุระจำเป็นไม่ควรขาดเรียน

ประเมินตนเอง
     ภูมิใจในตนเอง เพราะได้รางวัลเด็กดี และรางวัลเด็กดีที่ได้ในครั้งนี้ก็เป็นรางวัลที่มีค่าเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะกิจเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระบามสมเด็กพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่9)

ประเมินเพื่อน
     มีเพื่อนหลายคนที่ได้รางวัลนี้เช่นกัน และเพื่อนที่ได้รางวัลไม่ได้แปลว่าจะไม่ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์เป็นกันเองในทุกๆวิชา และทุกๆครั้งที่ได้เรียนด้วย อีกทั้งอาจารย์ยังนึกถึงนักศึกษาเสมอ ทำให้บรรยากาศในการเรียนวิชานี้ เต็มไปด้วยความอบอุ่น

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้เป็นการเรียนการสอน "การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน"
โดยวันนี้ เริ่มเรียนอาจารย์ได้ร้องเพลง แล้วให้เรารำวง จากนั้นเมื่อเพลงจบอาจารย์จะพูดคำสั่ง ให้เราทำตามเพื่อเป็นการฝึกความคิดคล่องแคล่ว และฝึกสามาธิในการฟัง



จากนั้น เมื่อจับกลุ่มได้ตามจำนวนที่อาจารย์กำหนดแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่งนิทานพร้อมกับแสดง

ตัวอย่างนิทานเรื่อง เจ้าเท้าเพื่อนรัก


เนื้อเรื่องโดยสังเขป
     เท้าซ้ายกับเท้าขวา ไม่ถูกกัน โดยเท้าขวาจะเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ยอมทำตามเท้าซ้าย แต่ในความเป็นจริงแล้วเท้าทั้งสองข้างต้องเดินไปพร้อมๆกัน จะแยกกันเดินไม่ได้ และเมื่อเดินไป เท้าซ้ายก็เกิดสะดุดล้ม เท้าขวาจึงต่อว่าเท้าซ้าย แต่มีเจ้ามดตัวน้อยและก้อนหิน มาพูดให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันของเท้าซ้ายและเท้าขวา เท้าซ้ายและเท้าขวาจึงกลับมารักและสามัคคีกัน
     นิทานเรื่องเจ้าเท้าเพื่อนรัก สอนให้รู้ว่า เมื่ออยู่ด้วยกันต้องรักและสามัคคีกัน ถ้าหากอีกคนมีปัญหา ก็ต้องคอยช่วยเหลือกัน และการทำงานร่วมกัน การให้กำลังใจกันเป็นสิ่งที่สำคัญ

การนำไปประยุกต์ใช้
     นิทานที่จะนำมาจัดกิจกรรมการสอนให้กับเด็ก เนื้อหาควรสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เด็กได้ฝึกคิดวิเคราะห์และเห็นความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม

ประเมินตนเอง
     ช่วยเหลือในกลุ่ม ทั้งในการคิดเนื้อเรื่องและการแสดง

ประเมินเพื่อน
     นิทานของเพื่อนๆทุกกลุ่ม สอดแทรกสาระและความสนุกเอาไว้ค่ะ

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดีเยี่ยม ทำให้การเรียนวันนี้สนุก และมีความสุขมาก เพราะเริ่มการเรียนก็มีการร้องเพลงเพื่อผ่อนคลาย ทำให้นักศึกษาไม่เครียดกับเนื้อหาที่เรียนค่ะ




วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30  น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ เป็นการเรียน "การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมเคลือนไหวและจังหวะ"

การเคลื่อนไหว มี 2 รูปแบบ คือ
1.เคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น กระโดด ยกแขนขึ้น-ลง 
2.เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น เดิน คลาน วิ่ง

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีดังนี้
1.เคลื่อนไหวประกอบเพลง บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้แสดงออกโดยการเต้น
2.เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้แสดงออกตามเรื่องราว
3.เคลื่อนไหวตามคำสั่ง บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้ใช้ความคิดในการเปลี่ยนทิศทาง
4.เคลื่อนไหวแบบผู้นำ บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ เด็กได้คิดท่าทางที่แสดงออก
5.เคลื่อนไหวตามข้อตกลง บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดท่าทางที่แสดงออก
6.เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ บูรณาการความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องกับ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เคลื่อนไหวตามคำสั่ง และเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

ตัวอย่างการเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ

เคลื่อนไหวพื้นฐาน
   เริ่มโดยครูกำหนดสัญญาณ - ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆเดิน 1 ก้าว
                                               - ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆเดิน 2 ก้าว
                                               - ถ้าครูเคาะรัวๆเร็วๆ ให้เด็กๆเดินไปรอบๆห้อง
                                               - ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กหยุดอยู่กับที่ในท่านั้น

เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
   ถ้าครูพูดว่า ท้องฟ้า ให้เด็กๆทำท่าบินไปที่มุมท้องฟ้า
   ถ้าครูพูดว่า ป่าไม้ ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
   ถ้าครูพูดว่า ทะเล ให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
   ถ้าครูพูดว่า รู ให้เด็กๆทำท่างูไปที่มุมรู

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
   บีบ นวด ด้วยตนเอง




ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบต่างๆ




การนำไปประยุกต์ใช้
     ความคิดสร้างสรรค์นอกจากจะบูรณาการกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แล้วยังสามารถบูรณาการกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง
     นอกจากจะแสดงเป็นเด็กของกลุ่มตัวเองแล้ว ยังให้ความร่วมมือเป็นเด็กให้กับกลุ่มอื่นด้วย

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนทุกคนมีความสามรถในการสอน ตรงไหนที่อาจารย์ชี้แนะ ก็พร้อมน้อมรับ

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี ใส่ใจการสอนของนักศึกษาทุกรายละเอียด เพื่อให้นักศึกษานำไปสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ




วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     นำเสนอสื่อที่ผลิตจากสิ่งเหลือใช้














การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     เห็นตัวอย่างสื่อที่ประดิษฐ์จากสิ่งเหลือใช้ และสามารถประดิษฐ์สื่อจากสิ่งเหลือใช้ได้จริง

ประเมินตนเอง
     นำเสนอผ่าน และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของชิ้นงานตนเองได้

ประเมินเพื่อน
     สื่อที่เพื่อนประดิษฐ์ขึ้นมา แตกต่างกันออกไป และมีประโยชน์หลากหลาย

ประเมินผู้สอน
      อาจารย์แนะนำข้อบกพร่องของชิ้นงาน ของแต่ละคนอย่างเป็นกันเอง ทำให้นักศึกษารู้สึกไม่ซีเรียสและยอมรับข้อบกพร่องนั้นไปแก้ไข

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 31 ตุลมคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

     การจัดกิจกรรมบูรณาการ

เป้าหมายการจัดกิจกรรมบูรณาการ
1.เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
2.เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
3.เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสสติปัญญา

ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมบูรณาการ
1.เพื่อตอบสนองในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านคณิตศาสตร์ วทิยศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างสื่อประดิษฐ์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
"หมูตุ้ยเก็บหนังสือ"

อุปกรณ์
1.ขวดน้ำขนาด 5 ลิตร 1 ขวด
2.ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตร 2 ขวด
3.ฝาขวดน้ำ 4 ฝา
4.ตาตุ๊กตา 1 คู่
5.กรรไกร
6.กระดาษสี
7.กาว


วิธีทำ
1.ตัดขวดน้ำขนาด 5 ลิตร ในแนวนอน ตัดเป็นช่อง 3 ช่อง ช่องละประมาณ 2 นิ้ว  ไว้สำหรับเก็บหนังสือ โดยในส่วนนี้จะทำเป็นตัวหมู
2.ตัดก้นขวดน้ำ 1.5 ลิตร ทั้งสองขวด เพื่อนำมาทำเป็นหูหมู
3.ตกแต่งให้สวยงามโดยการติดกระดาษสีให้ทั่วตัวหมู และหูหมู
4.ใช้กาวติดหูหมูที่บริเวณหัวหมู (สามารถกะได้เองตามจินตนาการ)
5.ใช้กาวติดตาตุ๊กตาที่บริเวณหัวหมู (สามารถกะได้เองตามจินตนาการ)
6.ใช้กาวติดฝาน้ำทั้ง 4 ฝา ใติดที่บริเวณท้องหมู เพื่อทำเป็นขาหมู (สามารถกะเองได้ตามจินตนาการ)




สำเร็จแล้วค่ะ "หมูตุ้ยเก็บหนังสือ"



การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำสิ่งของเหลือใช้ที่มีอยู่มาใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตเป็นสื่อที่ไว้ใช้ในมุมต่างๆได้

ประเมินตนเอง
     เมื่อทำเสร็จแล้วมีการปรับปรุงแก้ไขจุดด้อยของงาน ทำให้งานมีความแข็งแรงขึ้น

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆเสนอชื่อผลงานที่มีแสดงความคิดสร้างสรรค์ และสามารถใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไป

ประเมินเพื่อน
    งานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำ สอดคล้องกับรายวิชา สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 24 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดชดเชยวันปิยะมหาราช

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     เด็กจะแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ได้ ครูต้อง
1.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
2.สื่อในการเรียนการสอนต้องหลากหลาย และน่าสนใจ
3.กระตุ้นเด็กด้วยคำถาม
4.ผลงานของเด็กทุกคนครูควรให้เด็กได้นำเสนอครบทุกคน

     จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 10 คน แล้ววาดรูปเรขาคณิต จากนั้นให้แต่ละคนเลือกรูปเรขาคณิตนั้น แล้ววาดออกมาเป็นภาพ

ตัวอย่างสื่อความคิดสร้างสรรค์
*สื่อนี้สอดแทรกเนื้อหา รูปทรงเรขาคณิต คำศัพท์ต่างๆ*













     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  การจะสร้างสื่อให้เด็กสักชิ้นหนึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และคำนึงถึงประโยชน์อันสูงสุดที่เด็กจะได้รับ

    ประเมินตนเอง
   ชอบกิจกรรมนี้ เพราะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง อีกทั้งยังได้วาดรูประบายสี ซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบ

    ประเมินเพื่อน
   เพื่อนแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการวาดภาพจากเรขาคณิตได้อย่างหลากหลายและสวยงาม

     ประเมินผู้สอน
   อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดีเยี่ยม ทำให้นักศึกษาได้ลงมือประดิษฐ์จริงและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 10 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย
1.คิดริเริ่ม
2.คิดคล่องแคล่ว
3.คิดยืดหยุ่น
4.ละเอียดลออ
5.คิดสร้างสรรค์

     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.กำหนดเรื่อง โดยเรื่องที่เลือกมานั้น ต้องเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันและมีผลกระทบต่อเด็ก
2.นำเรื่องที่ได้มาแตกหัวข้อ ซึ่งต้องมีหัวข้อดังนี้
   - ชื่อเรียก
   - ลักษณะ
   - การดำเนินชีวิต
   - ประโยชน์
   - ข้อควรระวัง
3.ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม โดยเด็กต้องได้รับประสบการณ์ครบทั้ง 4 ด้าน 

ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
หน่วยแมลง

*จัดเป็น 4 ฐาน*

ฐานที่ 1 เป่าสี




ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุที่กำหนดให้


ฐานที่ 3 พิมพ์มือ




ฐานที่ 4 ทำของเล่นแมลงไต่



     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ควรให้เด็กได้ใช้ความคิดและจินตนาการด้วยตนเอง แต่กิจกรรมที่เราจัดขึ้น ควรสอดแทรกบูรณาการวิชาต่างๆเข้าไว้ด้วย

     ประเมินตนเอง
   ในวันที่ทำกิจกรรม ทำกิจกรรมครบทุกฐาน

    ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และให้ความร่วมมือทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้

     ประเมินผู้สอน
   อาจารย์ตั้งใจสอน มีการเตรียมการเรียนการสอนมาอย่างดี เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้อย่างเต็มที่





วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 3 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นการนำเสนอการเรียนการสอนแบบ STEAM โดยยกตัวอย่างมาทำกับเพื่อนในห้อง หน่วยละ 1 กิจกรรม

หน่วยปลา
กิจกรรม สร้างบ่อปลาจากดินน้ำมัน
ได้ Engineering, Art, Mathematic




หน่วย ยานพาหนะ
กิจกรรมสร้างถนนจากดินน้ำมัน
ได้ Engineering, Art, Mathematic


หน่วย ข้าว (1)
กิจกรรม หุ่นไล่กา
ได้ Engineering, Art



หน่วยข้าว (2)
กิจกรรม วาดรูประบายสีท้องนา
ได้ Art




หน่วย ไข่
กิจกรรม ระบายสี Anotomy ไข่
ได้ Science, Art, Math



หน่วย บ้าน
กิจกรรม วาดรูประบายสีบ้าน
ได้ Engineering, Art, Math



     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   ได้เห็น และได้ทำกิจกรรมการของหน่วยต่างๆ ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ STEAM โดยสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

     ประเมินตนเอง
   ทำกิจกรรมที่เพื่อนเตรียมมาอย่างเต็มที่ และในกลุ่มของตนเอง ก็เตรียมอุปกรณ์มาทำกิจกรรม

     ประเมินเพื่อน
  กิจกรรมที่เพื่อนเตรียมมา เป็นกิจกรรมที่สนุกและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์

     ประเมินผู้สอน
  อาจารย์คอยชี้แนะ และบอกขั้นตอนการสอนอย่างเป็นกันเอง ทำให้นักศึกษารู้สึกเป็นกันเอง และไม่เกร็งเท่าไหร่ เมื่อต้องออกมาสอนหน้าชั้นเรียน