วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 12 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     STEM/STEAM Education
     STEM (สะเต็ม) เป็นการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ทางวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาตร์ โดยนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
S : Science : วิทยาศาตร์ การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ต่างๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆตามธรรมชาติ
T : Technology : เทคโนโลยี วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
E : Engineering : วิศวกรรมศาสตร์ ทักษะกระบวนการการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา
M : Mathematic : คณิตศาสตร์ เรื่องราวของการคำนวณ จำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ

STEM กับ การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
- สอดแทรก STEM เข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่หน่วยที่ครูจัดขึ้น
- STEM เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนการสอนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ
- ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่

     STEAM (สะตีม) เป็นการนำ STEM มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ Art เพื่อทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น




     ตัวอย่างการสอนแบบ STEAM หน่วย ผีเสื้อ
S:Science การเจริญเติบโตของผีเสื้อ,วงจรชีวิตของผีเสื้อ
T:Technology การนำหนอนไหมมาทำผ้าไหม
E:Engineering การออกแบบสร้างกรงเลี้ยงหนอนหรือผีเสื้อ
A:Art กิจกรรมวาดภาพระบายสีผีเสื้อ หรือ การเป่าสีให้เป็นรูปผีเสื้อ
M:Mathematic ขนาดของผีเสื้อ

จากนั้นอาจารย์ได้ให้จับกลุ่มทำ "ผีเสื้อจากจานกระดาษ"

อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ผีเสื้อ





กิจกรรม "การออกแบบกรงผีเสื้อ"







จากนั้นทำกิจกรรม Stop Motion
กิจกรรมนี้เป็นการปั้นวงจรชีวิตของผีเสื้อจากดินน้ำมัน
จากนั้นถ่ายเป็นคลิป ส่งให้อาจารย์ค่ะ



     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   นำความรู้เรื่อง STEM/STEAM Education ไปจัดการเรียนการสอนได้ในอนาคต อีกทั้งยังเห็นตัวอย่างการบูรณาการ การเรียนรู้แบบสะเต็ม

     ประเมินตนเอง
   เตรียมของตามที่อาจารย์สั่งไว้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ตื่นเต้นและสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ
  
     ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมกันมาก พยายามออกแบบ ปั้น ให้สวยที่สุด มีการช่วยเหลือและปรึกษากันทั้งภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม

     ประเมินผู้สอน
   กิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา น่าสนใจและเป็นการยกตัวอย่างการสอนแบบสะเต็มเพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพการเรียนการสอนแบบจริงๆ






วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 5 กันยายน 2559
เวลา 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นการเรียนการสอน ในสัปดาห์ที่สอง อาจารย์เริ่มต้นการเรียนในวันนี้ด้วยการให้ดูคลิปวิดีโอ เพื่อดึงดูดให้นักศึกษาสนใจ และเป็นการผ่อนคลายก่อนจะเริ่มเรียนเนื้อหา

     จากนั้นอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม "Marshmallow Tower" ซึ่งกิจกรรมนี้ ก็คือ การให้นำไม้จิ้มฟันมาต่อกันให้สูงที่สุด โดยอุปกรณ์ที่อาจารย์แจกให้ คือ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน และกระดาษเอสี่หนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาออกแบบอย่างไรก็ได้ภายในกลุ่มให้ตั้ง Tower ให้ได้สูงที่สุด ภายในเวลาที่อาจารย์กำหนด โดยครั้งแรก ภายในกลุ่มห้ามพูดกันเลย ครั้งที่ 2 พูดได้เพียงหนึ่งคน และครั้งที่ 3 ภายในกลุ่มสามารถปรึกษากันได้ และผลที่ปรากฏคือ ครั้งสุดท้ายที่สามารถปรึกษากันได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะสามารถตั้ง Tower ได้สูงที่สุดกว่าครั้งอื่นๆ  ที่ไม่ได้ปรึกษากัน


     หลังจากจบกิจกรรม Marshmallow Tower ก็เป็นการเริ่มเข้าสู่เนื้อหาการเรียน โดยเนื้อหาการเรียนวันนี้ คือ "การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์"

     การเล่น
- กระบวนการเรีบนรู้และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
- ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้ผ่อนคลาย
- ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
     "Piaget" กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็ก ว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2.ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ อายุ 1 ปีครึ่ง - 2 ปี
3.ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ปี
     
     ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.การเล่นกลางแจ้ง
2.การเล่นในร่ม เช่น การเล่นตามมุมประสบกรณ์ การเล่นสรา้งสรรค์

     องค์ประกอบของการเล่นสร้างสรรค์
1.สภาวะการเรียนรู้ 
  - จัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  - การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
  - การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
  - การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  - การเรียนรู้เหตุและผล
2.พัฒนาการของการรู้คิด
  - จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3.กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
  - กระบวนการเรียนรู้
  - กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

    กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อนการเรียนรู้
- เปลี่ยนแลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
- การจำแนกอย่างมีเหตุผล

    หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างสรรค์
- ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
- ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
- มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- มีการสรุปท้ายกิจกรรม

     กิจกรรม "เรือน้อยบรรทุกของ"

อุปรกรณ์ประดิษฐ์ เรือน้อยบรรทุกของ

เรือน้อยของแต่ละกลุ่มค่ะ

เรือน้อยของกลุ่มหนูค่ะ เรือน้อยจริงๆ บรรทุกได้น้อยจริงๆค่ะ 555555




  กิจกรรม "ดีไซเนอร์ระดับโลก"

     อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และให้ออกแบบดีไซน์ชุดจากหนังสือพิมพ์ จากนั้นให้เลือกตัวแทนในกลุ่มหนึ่งคน เพื่อเป็นนางแบบใส่ชุดที่ดีไซน์ขึ้น



เดินโชว์ชุดที่ออกแบบ พร้อมตอบคำถามเกี่ยวกับชุดค่ะ 5555555


ชุดสวยๆจากห้องเสื้อ เด้อนางเด้อ

คณะออกแบบชุดของห้องเสื้อ เด้อนางเด้อ


     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  - กิจกรรม Marshmallow Tower สามารถนำไปจัดไว้ในมุมเสริมประสบการณ์ได้ และยังเป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารในการที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น
  - กิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ ทำให้ได้ระดมความคิดกับเพื่อน หาวิธี ออกแบบ เรือให้สามารถบรรทุกของให้ได้มากที่สุด
  - กิจกรรมดีไซน์เนอร์ระดับโลก ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าแสดงออก

     ประเมินตนเอง
  ภูมิใจในตนเอง ที่กล้าแสดงออก เพราะปกติ ไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน แต่สามารถทำออกมาได้ดี และทำอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

     ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ทำ

     ประเมินผู้สอน
   กิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอน นำมาให้ทำ มีความสนุกสนาน และยังให้สาระทุกกิจกรรม ทำให้การเรียนไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ แต่กลับมีแต่บรรยากาศที่สนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างเต็มที่ค่ะ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรก อาจารย์ได้แจกใบปั้มครั้งที่มาเรียน และใบเนื้อเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ
     หลังจากแจกเนื้อเพลงแล้ว อาจารย์ก็สอนร้องเพลงที่แจกมา ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน "การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย"
     
     ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
Jellen : ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
De Bong : ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
อุษณีย์ โพธิสุข : กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อนสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัฐหาที่มีอยู่ให้ดีขั้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
     คุณค่าของความคิดสร้างรรค์
- คุณค่าต่อสังคม
- คุณค่าต่อตนเอง
- ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
- ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
- มีความภูมิใจ มั่นใจในตนเอง
- นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
- ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง
- ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
- สร้างนิสัยการทำงานที่ดี
- พัฒนากล้ามเนื้อ
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ

     องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ มี 4 ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว
  - ด้านถ้อยคำ
  - ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
  - ด้านการแสดงออก
  - ด้านการคิด
2.ความคิดริเริ่ม
  - ความคิดแปลกใหม่และแตกต่าง
3.ความคิดยืดหยุ่น
  - ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที
  - ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง
4.ความคิดละเอียดลออ
  - คิดเกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
  - ทำให้ความคิดริเริ่มสมบูรณ์

     พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance แบ่งเป็น 3 ระยะ
1.ระยะแรกเกิด - 2 ขวบ มีจินตนาการ สิ่งแวดล้อมรอบตัว
2.ระยะ 2 - 4 ขวบ ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการในการเล่น
3.ระยะ 4 - 6 ขวบ สนุกกับการวางแผน การเล่น ชอบเล่นสมมติ

     ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ มี 5 ขั้น
1.แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
2.งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
3.ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
4.ปรับปรุงขั้นที่ 3
5.คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด

     ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
- ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
- อำนวยประโยชน์สุข
- เข้าใจและแก้ปัญหาได้ดี
- ช่วยให้ประสบความสำเร็จ
- ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

ทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์

ทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Gillford
     อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 : ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื้อในการคิด
มิติที่ 2 : กระบวนการทำงานของสมอง
มิติที่ 3 : การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า

ทฤษฎี Constructivism
- เด็กเรียนรู้เอง
- เด็กคิดเอง
- ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ Torrance
     ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการขิงความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
ขั้นที่ 1 : การพบความจริง
ขั้นที่ 2 : การค้นพบปัญหา
ขั้นที่ 3 : การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 : การค้นพบคำตอบ
ขั้นที่ 5 : ยอมรับผล
     บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- เด็กรู้สึกปลอดภัย
- ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
- ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
- ขจัดอุปสรรค
- ไม่มีการแข่งขัน
- ให้ความสนใจเด็ก
     กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3 ลักษณะ
1.ความไม่สมบูรณ์ ความเปิดกว้าง
2.การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.การใช้คำถามของเด็ก
     แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- ส่งเสริมให้เด็กถาม
- เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
- ยอมรับคำถามของเด็ก
- ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
- แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
- ค่อยเป็นค่อยไป
- ยกย่องชมเชย
- ไม่มีการวัดผล
     การตั้งคำถาม 5W1H
Who : ใคร
What : อะไร
Where : ที่ไหน
When : เมื่อไหร่
Why : ทำไม
How : อย่างไร

     เมื่อเรียนเนื้อหาแล้ว จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมคือ ให้จับคู่สองคน จากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลง แล้วให้วาดภาพลากเส้นไปเรื่อยๆ โดยห้ามยกมือขึ้นมา เมื่อเพลงจบให้ระบายสีว่าในเส้นที่ลากนั้น เราสามารถจินตนาการเป็นภาพอะไรได้บ้าง

จับคู่ทำกิจกรรม


เส้นที่ลากได้จากการฟังเพลงไปเรื่อยๆ


ภาพที่จินตนาการได้ จากเส้น
ภาพผลงานของเพื่อนๆในห้องค่ะ
     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำกิจกรรมไปใช้ได้อนาคต
- รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เนื่องจากในภาพมันเป็นเส้นอะไรไม่รู้ แต่เมื่อเพื่อนมองออกมาว่าเป็นภาพนี้ เราก็ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
- ได้ใช้จินตนาการ

     ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเนื้อหาที่ครูสอน จดบันทึกเพิ่มเติม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

     ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในกิจกรรมของอาจารย์

     ประเมินผู้สอน
อาจารย์มีกิจกรรมมาดึงดูดให้นักศึกษาสนใจ และในกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนก็ยังสอดแทรกเนื้อหาสาระลงไป อีกทั้งบรรยากาศในการเรียนก็ไม่มีความตึงเครียด ทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนมากค่ะ